บันทึกการเรียนรู้29/05/60
คณิตศาสตร์+การคิด
-การเรียนวันนี้เป็นการเรียนโดยใช้
Application จากการใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่า โดยพี่ๆป.5 นั้นใช้ I
Pad ในการทำการเรียนรู้ ซึ่งวันนี้พี่ ป.5ได้โจทย์คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลจากการใช้
Application ในการสอนคณิตศาสตร์ วันนี้พี่ ป.5 เรียนการทำนำเสนอผ่าน
Application Keynote ที่เป็น App
ใช้ทำการนำเสนอข้อมูลครูให้โจทย์และเปิดกว้างในการทำรูปแบบการนำเสนอแล้วแต่นักเรียนจะออกแบบ
ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าการใช้ Application
ในการเรียนรู้การเรียนรู้การสอนไม่ได้เลวร้ายถ้าใช้เป็นก็เกิดประโยชน์สูงสุด
ภาษาอังกฤษ English
-ใช้เทคโนโลยีในการเรียนเหมือนกันทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า
การเรียนภาษาอังกฤษที่ฟังจาก Application
นั้นเด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้สำเนียง จากเจ้าของภาษาจริงๆ
ซึ่งช่วยให้เด็กไม่เสี่ยงต่อการเรียนรู้ผิดๆจากครู
บูรณาาการ PBL
-การทดลอง การลอยตัว
ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงความสามารถของเด็กนักเรียนที่มีความคิดไม่มีขีดจำกัดนักเรียนที่นี่สามารถคิดและวิเคราะห์เองได้ด้วยการที่ครูเป็นเพียงแค่ผู้สร้างสถานการณ์นั้นเท่านั้น
มุมน่ารัก “ผมอยากขอโทษทุกคนครับที่ผมเสียงดัง”
“ผมขอโทษครับที่ผมทำงานช้า”
แรงบันดาลใจ
“ถ้าเป็นครูที่ดีไม่ได้ก็ให้ไปทำอาชีพอื่น”
กิจกรรมคณิตศาสตร์และการคิด การใช้ APPLICATION

กิจกรรมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ
กิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการ PBL
กิจกรรมจิตศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม “บ้านแมงมุม”
|
ไม้จิ้มฟัน
ไหมพรม
|
ขั้นเตรียม 5 นาที
-
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
-
ครูกับนักเรียนยิ้มไหวทักทายกันอย่างอ่อนน้อม
-
ครูกระตุ้นการเรียนด้วยBrain gym (ท่าหูกระต่าย แตะสลับ)
|
||
ฝึกการมีสติรู้ตัว,การมีสมาธิจดจ่อ
-
เคารพ นอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
|
ขั้นกิจกรรม
๑๕ นาที
-
ครูเล่าเรื่องราวเชื่อมโยงกับกิจกรรมเรื่องบ้านพี่แมงมุมพัง
-
ครูแนะนำอุปกรณ์การกิจกรรมและให้นักเรียนได้รู้จัก
พร้อมกับถามสิ่งที่นักเรียนมองเห็น
“มองเห็นอะไร”
“เห็นแล้วรู้สึกแบบไหน”
-
ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ให้นักเรียนที่นั่งข้างๆด้วยความอ่อนน้อม
พร้อมให้นักเรียนส่งให้เพื่อนข้างๆกันไปเรื่อยๆ
-
ครูสาธิตวิธีการทำให้กับเด็กนักเรียนดู
-
ครูให้นักเรียนลงมือสร้างบ้านพี่แมงมุมด้วยตัวนักเรียนเอง
-
เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วครูถามนักเรียนเมื่อมอบบ้านให้พี่แมงมุมแล้ว
“นักเรียนจะบอกพี่แมงมุมว่าอย่างไร”
-
ครูกล่าวชมเชยนักเรียนและขอบคุณความรักที่ทำให้เราน่ารัก
|
|
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ
๕ นาที
-
ครูพูดแสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของนักเรียนทุกคน
-
ครูและนักเรียนไหวขอบคุณชื่นชมกันและกันด้วยความนอบน้อม
โอบกอดยิ้มให้กัน
|
บันทึกการเรียนรู้
30/05/60
ภาษาไทย
-
วันนี้ภาษาไทยเรียนผ่านวรรณกรรม
ต้นส้มแสนรัก นักเรียนช่วยกันอ่านพร้อมกัน สลับกับครู ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า
ภาษาไทยถ้าให้นักเรียนช่วยกันอ่านพร้อมกัน ถ้าอ่านนานเกินไปนักเรียนจะเบื่อ
ดังนั้นครูที่นี่จะอ่านสลับกับนักเรียนอ่าน นักเรียนจะอ่าน
ครูก็จะอ่านให้นักเรียนฟังสลับกัน เป็นการดีที่นักเรียนจะอ่านและรู้จักฟังไปด้วย
นอกจากนี้ครูยังให้นักเรียนอ่านในใจและสุดท้ายครูให้นักเรียนเล่าเรื่องที่อ่านไปด้วยกันเป็นการสรุปการอ่านไปพร้อมๆกัน
ภาษาอังกฤษ
-
ภาษาอังกฤษในวันนี้เรียนการออกเสียง
PHONIC
ที่เป็นการสอนและการให้นักเรียนฟังสำเนียงการออกเสียงจากการฟังของเจ้าของภาษา
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบให้นักเรียนสะกดคำรูปคำถามบทคำศัพท์นั้นการผสมคำ
การออกเสียงและการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้วิดีโอในการเรียนการสอน
ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ว่าดารเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีการสื่อการสอนที่เป็นวิดีโอจะช่วยให้นักเรียนสนใจและเข้าใจการเรียนมากขึ้น
คณิตศาสตร์
-
มีเทคนิคการให้โจทย์เล่าเรื่องก่อนเชื่อมโยงกับโจทย์
ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ว่า คณิตศาสตร์มีอีกหลากหลายวิธีในการสอนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กและปล่อยให้เด็กคิดก่อนและค่อยดูวิธีคิดของนักเรียนก่อนตัดสินคำตอบนั้น
PBL
-
การปล่อยให้เด็กค้นคว้าความรู้เองจะทำให้นักเรียนจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง
มุมน่ารัก
-
“ครูครับขอบคุณครับ(พร้อมกับการโอบดอก)”
วิชาคณิตศาสตร์
วิชาภาษาไทย การเขียนตามคำบอก
บูรณาการเการออกแบบนวัตกรรมแรงลอยตัว
กิจกรรมจิตศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม “เล่าเรื่องจากบัตรคำ”
|
บัตรคำ
|
ขั้นเตรียม 5 นาที
-
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
-
ครูกับนักเรียนยิ้มไหวทักทายกันอย่างอ่อนน้อม
-
ครูกระตุ้นการเรียนด้วยท่าแตะสลับ
นับเลข
|
||
ฝึกการมีสติรู้ตัว,การมีสมาธิจดจ่อ
-
เคารพ นอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
|
ขั้นกิจกรรม
๑๕ นาที
-
ครูนำบัตรคำขึ้นมา ๑ ชุด
-
ครูส่งบัตรภาพให้นักเรียนหยับบัตรภาพให้หน้าบ้านตัวเอง
๑ ภาพ และส่งตะกร้าบัตรคำให้เพื่อนไปเรื่อยๆด้วยความอ่อนน้อม
-
จากนั้นครูเริ่มตั้งคำถามปริศนาจากบัตรคำของครูเองและเริ่มให้นักเรียนทายจากบัตรคำของเพื่อนที่ตั้งคำถามนั้นมา
-
นักเรียนทุกคนเล่าเรื่องตามบัตรคำของตัวเองเป็นเรื่องราวไปเรื่อยๆ
-
เมื่อนักเรียนคนสุดท้ายเล่าเรื่องครูให้นักเรียนทุกคนร่วมกัน
ตั้งชื่อเรื่องที่นักเรียนร่วมกันเล่า
-
ครูกล่าวชมเชยนักเรียนและขอบคุณความรักที่ทำให้เราน่ารัก
|
|
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ
๕ นาที
-
ครูพูดแสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของนักเรียนทุกคน
-
ครูและนักเรียนไหวขอบคุณชื่นชมกันและกันด้วยความนอบน้อม
โอบกอดยิ้มให้กัน
|
บันทึกการเรียนรู้ 31/05/2560
คณิตศาสตร์
การเรียนรู้วันนี้ครูมีโจทย์ให้นักเรียนเป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีการให้เหตุผลของคำตอ
เพื่อเป็นการดูทักษะดูทักษะนักเรียนว่ามีทักษะการคิดของนักเรียน
นอกจากนี้ยังมีเกมที่เสริมทักษะให้กับนักเรียนได้นั้นคือ การเก็บบล็อก
โดยคนที่เก็บบล็อกเป็นคนสุดท้ายจะเป็นผู้แพ้ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าทักษะการคิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์
การเสริมทักษะทางด้านนี้มีความจำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์
ครูส่งเสริมได้ด้วยกิจกรรมต่างๆเช่นการเล่นเกม การทำโจทย์การคิด
ภาษาไทย
วันนี้การเขียนตามคำบออกจากคำศัพท์ในวรรณกรรม”ต้นส้มแสนรัก”
จำนวน 15 คำ จากนั้นก็ทำกิจกรรม เกม BING GO คำศัพท์
ที่ให้นักเรียนเลือกคำศัพท์ลงในช่องของนักเรียนเอง
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันจับฉลากคำเพื่อหาคนที่เล่น BING GO ชนะ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า
ภาษาไทยถ้าจะเรียนรู้ได้ไม่น่าเบื่อเราสามารถประยุกต์กิจกรรมเสริมสร้างทักษะให้กับนักเรียนได้
ภาษาอังกฤษ
เรียนเรื่อง
MAGIC
E กิจกรรมภาษาอังกฤษในวันนี้มีพี่หงส์มาช่วยในการสอนในวันนี้ พี่ๆ
ป.5 เรียนรู้ได้ดีจากการดู VDO และลงมือคิดช่วยกันแต่งประโยคจากคำศัพท์ที่พี่
ป.5
ค้นหามาแต่งประโยคเป็นเรื่องราว
PBL
การเรียนบูรณาการในวันนี้ให้พี่ๆออกแบบนวัตกรรมการสร้างที่ใช้แรงลอยตัวแรงพยุงพี่ๆจะค้นหาหาข้อมูลจากห้องสมุดและนำมาวางแผนออกแบบนวัตกรรมกลุ่มด้วยกัน ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า
การเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่มจะทำให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มุมน่ารัก
“ผมจะรีบทำให้เสร็จแล้วผมจะได้เล่นครับ”
แรงบันดาลใจ
“ไม่มีหินก้อนใดโง่”
กิจกรรมการสอนภาษาไทย การแยกหมวดหมู่คำศัพท์
กิจกรรมบูรณาการสร้างนวัตกรรมแรงลอยตัว
กิจกรรมจิตศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม “ฟังเพลงสื่อความหมาย”
|
เพลงดอกชบากับคนตาบอด
กระดาษ
|
ขั้นเตรียม 5 นาที
-
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
-
ครูกับนักเรียนยิ้มไหวทักทายกันอย่างอ่อนน้อม
-
ครูกระตุ้นการเรียนด้วยท่าแตะสลับ
นับเลข
|
||
ฝึกการมีสติรู้ตัว,การมีสมาธิจดจ่อ
-
เคารพ นอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
|
ขั้นกิจกรรม
๑๕ นาที
-
ครูส่งกระดาษให้นักเรียนหยิบกระดาษให้หน้าบ้านตัวเอง
๑ แผ่น และส่งตะกร้ากระดาษให้เพื่อนไปเรื่อยๆด้วยความอ่อนน้อม
-
จากนั้นครูให้นักเรียนฟังเพลงที่ครูเปิดเพลงให้นักเรียนฟัง(เพลงดอกชบากับคนตาบอด)
พร้อมกับให้นักเรียนเลือกคำที่นักเรียนชอบในบทเพลงนั้นมาเขียนลงในกระดาษของตัวเอง
-
นักเรียนทุกคนเล่าเรื่องตามผลงานของตัวเองเป็นเรื่องราวไปเรื่อยๆเมื่อนักเรียนคนสุดท้ายเล่าเรื่องครูให้นักเรียนทุกคนร่วมกัน
ตั้งชื่อเรื่องที่นักเรียนร่วมกันเล่า
-
ครูกล่าวชมเชยนักเรียนและขอบคุณความรักที่ทำให้เราน่ารัก
|
|
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ
๕ นาที
-
ครูพูดแสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของนักเรียนทุกคน
-
ครูและนักเรียนไหวขอบคุณชื่นชมกันและกันด้วยความนอบน้อม
โอบกอดยิ้มให้กัน
|
ขั้นกิจกรรม
ผลงานเด็กนักเรียน
บันทึกการเรียนรู้
1/06/60
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ยังเป็นเรื่องการให้โจทย์ที่เน้นการคิดการสังเกตและการคิดที่เกี่ยวกับตรรกะการคิดและแนวคิดพีชคณิตที่เปิดกว้างการคิดของเด็กและให้รูปภาพระบายสีที่เป็นลายกระเบื้องทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ว่าการระบายสีส่งผลต่อการทำงานของเด็กและรู้ว่าเด็กคนนั้นเป็นแบบไหนมีทักษะแบบไหน
เราจะช่วยกันส่งเสริม
ภาษาไทย
เรียนการแยกคำโดยครูจะเอาคำศัพท์ภาษาไทยขึ้นกระดาษ
ให้นักเรียนอ่านจากนั้นครูจะให้นักเรียนคิดว่าคำที่นักเรียนเห็นนั้นจะแยกหมวดหมู่อย่างไร
ให้เหตุผลในการแยกจากนั้นก็ให้นักเรียนนำเสนอและพากันขมวดความคิดกันอีกทีเพื่อการจัดหมวดหมู่ที่ถูกต้องทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ว่าการให้เด็กจัดหมวดหมู่และลองคิดเองจะทำให้เด็กเข้าใจแล่นจดจำได้
ดนตรี
วันนี้พี่ๆเรียนลีลาศทักษะที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และสังเกตคือการพี่ๆได้ร่วมทำงานกลุ่มและการทำงานเป็นคู่ที่ลดความเขินอายและลดความเป็นวัยรุ่นเกินตัวของเด็กเปิดความคิดในเรื่องการเรียนรู้ความเป็นเพื่อนซึ่งกันแลละกันและเปิดทักษะทางดนตรีให้กับพี่ๆที่ไม่ชอบดนตรีเริ่มเปิดใจทางดนตรีมากยิ่งขึ้น
มุมน่ารัก "ครูครับผมสัญญาว่าจะทำการบ้านถ้าครูคืนโปเกมอนผม"
PBL
วันนี้พี่ๆได้ทำนวัตกรรมเกี่ยวกับแรงพยุงแรงลอยตัวที่พี่ๆออกแบบเมื่อวาน ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าพี่ๆมีความรับผิดชอบในการทำงานและหหน้าที่ของพี่ๆทุกกคนเองทำให้เห็นว่านักเรียนมีความรับผิดชอบและครูปลูกฝังใมห้เด็กนักเรียนที่นี่พึ่งพาตนเองแลทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
แรงบันดาลใจ
"ครูต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก"
วิชาคณิตศาสตร์
กิจกรรมวิชาดนตรี เต้นลีลาศ
วิชาบูรณาการ สร้างนวัตกรรมแรงพยุงการลอยตัว
PBL
วันนี้พี่ๆได้ทำนวัตกรรมเกี่ยวกับแรงพยุงแรงลอยตัวที่พี่ๆออกแบบเมื่อวาน ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าพี่ๆมีความรับผิดชอบในการทำงานและหหน้าที่ของพี่ๆทุกกคนเองทำให้เห็นว่านักเรียนมีความรับผิดชอบและครูปลูกฝังใมห้เด็กนักเรียนที่นี่พึ่งพาตนเองแลทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
แรงบันดาลใจ
"ครูต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก"
วิชาคณิตศาสตร์
กิจกรรมภาษาไทย แยกหมวดหมู่คำศัพท์
กิจกรรมวิชาดนตรี เต้นลีลาศ
วิชาบูรณาการ สร้างนวัตกรรมแรงพยุงการลอยตัว
กิจกรรมจิตศึกษา
โยคะ
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม “โยคะ”
|
เพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมอง
|
ขั้นเตรียม 5 นาที
-
ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
-
ครูกับนักเรียนยิ้มไหวทักทายกันอย่างอ่อนน้อม
-
ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหาบใจ
๒-๓ ลมหายใจ
|
||
ฝึกการมีสติรู้ตัว,การมีสมาธิจดจ่อ
-
เคารพ
ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ
-
ฝึกการหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี
|
ขั้นกิจกรรม
๑๕ นาที
-
ครูละนักเรียนเตรียมความพร้อมด้วยท่ายืนตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้าออกสัก
๔-๕ นาที
-
ครูเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆในแต่ละท่าให้ทำเป็นคู่
๒ คน
๑.ยืน
(แต่ละท่าให้ทำ ๒ รอบ)
-ท่าไหว้พระอาทิตย์-ท่าต้นไม้
- ท่าภูเขา – ท่าเก้าอี้
- ท่าเครื่องบิน
๒. นั่ง
(แต่ละท่าให้ทำ ๒ รอบ)
- ท่าผีเสื้อ
- ท่าเต่า
- ท่าหงส์
๓. นอน (แต่ละท่าให้ทำ ๒ รอบ)
- ท่าจระเข้
- ท่างูใหญ่
- ท่าคันธนู
- ท่าตั๊กแตน
- ท่าปลาดาว
เป็นท่าสุดท้ายในการให้นักเรียนได้ผ่อนคลายร่างกายของตนเอง ๕ นาที
- คุณครูเชิญให้นักเรียน
ค่อยๆลุกขึ้นนั่งเป็นวงกลม
-
คุณครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการนวดกดจุด
|
|
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ
๕ นาที
-
ครู Empower ชื่นชมและให้กำลังใจ
-
ครูและนักเรียนแสดงความเคารพ ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
บันทึกการเรียนรู้
2/06/60
ภาษาอังกฤษ
วันนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับรูปแบบการสรุปบทเรียนที่เรียนมาทั้งสัปดาห์เพื่อรู้ว่านักเรียนนั้นเรียนอะไรบ้างปละได้เรียนรู้อะไรเรื่องอะไร
นอกจากนี้นักเรียนอยากเรียนเพิ่มเติมอะไร
ทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าการทำแบบนี้คือการเช็คความรู้และความสำเร็จของครูที่ทำการเรียนการอสนมาทั้งหนึ่งสัปดาห์และนักเรียนเข้าใจการเรียนเรื่องที่เรียนมากน้อยพียงใด
เพราะพัฒนาความรู้นักเรียนและศักยภาพของคนด้วย
ภาษาไทย
เช่นกันกับการเรียนภาษาอังกฤษคือการสรุปบทเรียนที่ได้เรียนมา
ว่านักเรียนเรียนรู้เรื่องอะไรและได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด
และเมื่อถ้านักเรียนไม่เข้าใจในเรื่องใดนักเรียนก็จะทำการบ้าน
การทำส่งนี้เป็นการดีที่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่านักเรียนนั้นมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากเพียงใดและถ้าเมื่อนักเรียนไม่เข้าใจครูจะทำการเพิ่มเติมส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจนั้นลงไป
บูรณาการ
การเรียนวันนี้เชื่อมโยงทั้งสัปดาห์ในการต่อเติมนวัตกรรมของกลุ่มตัวเองเพื่อการทดลองข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่านักเรียนที่นี่มีการวางแผนและการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ผลงานนวัตกรรมของกลุ่มนักเรียนเองออกมาดี
มุมน่ารัก
“ครูแพรวค่ะ ยำเห็ดขมค่ะ
เห็นว่าครูอยากกิน”(ห่อข้าวแบ่งปัน)
แรงบันดาลใจ
“ครูรักนักเรียน
นักเรียนก็จะรักครู”
กิจกรรมจิตศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม “ฟังวรรณกรรมเล่าเรื่องราว”
|
กระดาษการ์ด
|
|
ขั้นเตรียม 5 นาที
-
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
-
ครูกับนักเรียนยิ้มไหวทักทายกันอย่างอ่อนน้อม
-
ครูกระตุ้นการเรียนด้วยท่าแตะสลับ
นับเลข
|
|
ฝึกการมีสติรู้ตัว,การมีสมาธิจดจ่อ
-
เคารพ นอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
|
ขั้นกิจกรรม
๑๕ นาที
-
ครูเริ่มอ่านวรรณกรรมให้นักเรียนฟัง
-
ครูส่งกระดาษให้นักเรียนหยิบกระดาษการ์ดนั้นให้หน้าบ้านตัวเอง
๑แผ่น และส่งตะกร้าบัตรคำให้เพื่อนไปเรื่อยๆด้วยความอ่อนน้อม
-
จากนั้นครูให้นักเรียนเขียนคำสั้นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ฟังและเปลี่ยนช่วงตอนจบของวรรณกรรมนั้นเพื่อในนักเรียนมีอารมณ์ร่วม
ครูให้เวลานักเรียนเขียนและตกแต่งนั้นเป็นเวลา 15 นาที
-
ครูครูให้นักเรียนนำเสนอ ผลงานของนักเรียนเองเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟังพร้อมกับชื่นชมเด็กนักเรียนที่ตั้งใจฟังเพื่อน
เป็นเด็กที่น่ารักให้นักเรียน
|
|
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ
๕ นาที
-
ครูพูดแสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของนักเรียนทุกคน
-
ครูและนักเรียนไหวขอบคุณชื่นชมกันและกันด้วยความนอบน้อม
โอบกอดยิ้มให้กัน
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น